045piyaphon : ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)
ทิศนา แขมมณี (2547) ได้รวบรวมไว้ว่า
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1. ลักษณะแข่งขันกัน
ในการศึกษาเรียนรู้
ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่นเพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่องหรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ
2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ
แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น
3.
ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน
และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย
การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ
การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน
ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่มโดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกันต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน
ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพโดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม
เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว ซึ่ง Johnson
and Johnson ได้สรุปว่า Cooperative Learning มีองค์ประกอบ
ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก
(Positive Interdependent) หมายถึงการพึ่งพากันใน
ทางบวก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การพึ่งพากันเชิงผลลัพธ์
คือการพึ่งพากันในด้านการได้รับผลประโยชน์จากความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน
ซึ่งความสำเร็จของกลุ่มอาจจะเป็นผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่ม ในการสร้างการพึ่งพากันในเชิงผลลัพธ์ได้ดีนั้น
ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทำงาน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน
จึงจะเกิดแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
สามารถร่วมมือกันทำงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ และการพึ่งพาในเชิงวิธีการ คือ
การพึ่งพากันในด้านกระบวนการทำงานเพื่อให้งานกลุ่มสามารถบรรลุได้ตามเป้าหมาย
ซึ่งต้องสร้างสภาพการณ์ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มได้รับรู้ว่าตนเองมีความสำคัญต่อความสำเร็จของกลุ่ม
ในการสร้างสภาพการพึ่งพากันในเชิงวิธีการ มีองค์ประกอบ ดังนี้
1.1
การทำให้เกิดการพึ่งพาทรัพยากรหรือข้อมูล (Resource
Interdependence) คือ
แต่ละบุคคลจะมีข้อมูลความรู้เพียงบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่องานของกลุ่ม
ทุกคนต้องนำข้อมูลมารวมกันจึงจะทำให้งานสำเร็จได้
ในลักษณะที่เป็นการให้งานหรืออุปกรณ์ที่ทุกคนต้องทำหรือใช้ร่วมกัน
1.2 ทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงบทบาทของสมาชิก
(Role Interdependence) คือ การกำหนด
บทบาทของการทำงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่ม และการทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงภาระงาน (Task
Interdependence) คือ
แบ่งงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่มมีทักษะที่เกี่ยวเนื่องกัน
ถ้าสมาชิกคนใดคนหนึ่งทำงานของตนไม่เสร็จ จะทำให้สมาชิกคนอื่นไม่สามารถทำงานในส่วนที่ต่อเนื่องได้
2.
การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม (Face to Face Promotive Interdependence) หมายถึง
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนช่วยเหลือกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กัน
การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด การอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้
การรับฟังเหตุผลของสมาชิกในกลุ่ม
การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้
การรับฟังเหตุผลของสมาชิกภายในกลุ่ม จะก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน
เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกันทางสังคม
จากการช่วยเหลือสนับสนุนกัน การเรียนรู้เหตุผลของกันและกัน
ทำให้ได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ การทำงานของตนเอง จากการตอบสนองทางวาจา
และท่าทางของเพื่อนสมาชิกช่วยให้รู้จักเพื่อนสมาชิกได้ดียิ่งขึ้น
ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
3. ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability) หมายถึง
ความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน
โดยต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ
ต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนสมาชิก
ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสามารถและความรู้ที่แต่ ละคนจะได้รับ
มีการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือไม่
โดยประเมินผลงานของสมาชิกแต่ละคน
ซึ่งรวมกันเป็นผลงานของกลุ่มให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งกลุ่มและรายบุคคลให้สมาชิกทุกคนรายงานหรือมีโอกาสแสดงความคิดเห็นโดยทั่วถึง
ตรวจสรุปผลการเรียนเป็นรายบุคคลหลังจบบทเรียน
เพื่อเป็นการประกันว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มรับผิดชอบทุกอย่างร่วมกับกลุ่ม
ทั้งนี้สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องมีความมั่นใจ
และพร้อมที่จะได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล
4.
การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interpersonal and Small Group Skills) หมายถึง
การมีทักษะทางสังคม (Social Skill) เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
คือ มีความเป็นผู้นำ รู้จักตัดสินใจ สามารถสร้างความไว้วางใจ รู้จักติดต่อสื่อสาร
และสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานร่วมกันที่จะช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบความสำเร็จ
5. กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processing) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม
โดยผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด มีความร่วมมือทั้งด้านความคิด
การทำงาน และความ รับผิดชอบร่วมกันจนสามารถบรรลุเป้าหมายได้
การที่จะช่วยให้การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปได้อย่าง
มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายนั้น กลุ่มจะต้องมีหัวหน้าที่ดี สมาชิกดี
และกระบวนการทำงานดี นั่นคือ มีการเข้าใจในเป้าหมายการทำงานร่วมกัน
สยุมพร ศรีมุงคุณ (2554)
ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดของทฤษฏีนี้
คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3–6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน
ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน
ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน
และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม
เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว
อัชรา เอิบสุขสิริ. (2550)
ได้รวบรวมไว้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ Cooperative and
Collaborative Learning หรือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ
เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative
Learning กับCollaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน
Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative Learning กับ
Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงานอัน ได้แก่
Pre – Structure , Task – Structure และ Content
Structure โดยCooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า
มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่มีขอบเขตจำกัด ชัดเจน
และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจนมากกว่า ส่วน Collaborative
Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า
เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย
และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่าCollaborative
Learning Office of Educational Research and Improvement (1992)
ได้ให้ความหมายของ Cooperative Learning ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการสอนที่ประสบผลสำเร็จในทีมขนาดเล็ก
ที่ซึ่งนักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน ใช้ความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อการปรับปรุงความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชา
สมาชิกแต่ละคนในทีมมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่เฉพาะการเรียนรู้แต่ยังรวมถึงการช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในการเรียนรู้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้บังเกิดการบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ด้วย
เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ
3 – 6 คน
ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและ
ร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
นอกจากนั้นแล้วทฤษฎีการเรียนรู้ยังสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้อีกด้วย
คือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐาน
- ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
- กลุ่มความรู้ (Cognitive)
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้
มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน
ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2547).
ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2554). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [Online]
เข้าถึงเมื่อ
วันที่ 22 กรกฎาคม 2561.
อัชรา เอิบสุขสิริ.(ม.ป.ป.).
เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู.กรุงเทพมหานคร.
: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)
ทิศนา แขมมณี (2547) ได้รวบรวมไว้ว่า
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1. ลักษณะแข่งขันกัน
ในการศึกษาเรียนรู้
ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่นเพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่องหรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ
2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ
แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น
3.
ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน
และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย
การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ
การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน
ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่มโดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกันต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน
ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพโดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม
เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว ซึ่ง Johnson
and Johnson ได้สรุปว่า Cooperative Learning มีองค์ประกอบ
ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก
(Positive Interdependent) หมายถึงการพึ่งพากันใน
ทางบวก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การพึ่งพากันเชิงผลลัพธ์
คือการพึ่งพากันในด้านการได้รับผลประโยชน์จากความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน
ซึ่งความสำเร็จของกลุ่มอาจจะเป็นผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่ม ในการสร้างการพึ่งพากันในเชิงผลลัพธ์ได้ดีนั้น
ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทำงาน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน
จึงจะเกิดแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
สามารถร่วมมือกันทำงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ และการพึ่งพาในเชิงวิธีการ คือ
การพึ่งพากันในด้านกระบวนการทำงานเพื่อให้งานกลุ่มสามารถบรรลุได้ตามเป้าหมาย
ซึ่งต้องสร้างสภาพการณ์ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มได้รับรู้ว่าตนเองมีความสำคัญต่อความสำเร็จของกลุ่ม
ในการสร้างสภาพการพึ่งพากันในเชิงวิธีการ มีองค์ประกอบ ดังนี้
1.1
การทำให้เกิดการพึ่งพาทรัพยากรหรือข้อมูล (Resource
Interdependence) คือ
แต่ละบุคคลจะมีข้อมูลความรู้เพียงบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่องานของกลุ่ม
ทุกคนต้องนำข้อมูลมารวมกันจึงจะทำให้งานสำเร็จได้
ในลักษณะที่เป็นการให้งานหรืออุปกรณ์ที่ทุกคนต้องทำหรือใช้ร่วมกัน
1.2 ทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงบทบาทของสมาชิก
(Role Interdependence) คือ การกำหนด
บทบาทของการทำงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่ม และการทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงภาระงาน (Task
Interdependence) คือ
แบ่งงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่มมีทักษะที่เกี่ยวเนื่องกัน
ถ้าสมาชิกคนใดคนหนึ่งทำงานของตนไม่เสร็จ จะทำให้สมาชิกคนอื่นไม่สามารถทำงานในส่วนที่ต่อเนื่องได้
2.
การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม (Face to Face Promotive Interdependence) หมายถึง
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนช่วยเหลือกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กัน
การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด การอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้
การรับฟังเหตุผลของสมาชิกในกลุ่ม
การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้
การรับฟังเหตุผลของสมาชิกภายในกลุ่ม จะก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน
เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกันทางสังคม
จากการช่วยเหลือสนับสนุนกัน การเรียนรู้เหตุผลของกันและกัน
ทำให้ได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ การทำงานของตนเอง จากการตอบสนองทางวาจา
และท่าทางของเพื่อนสมาชิกช่วยให้รู้จักเพื่อนสมาชิกได้ดียิ่งขึ้น
ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
3. ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability) หมายถึง
ความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน
โดยต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ
ต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนสมาชิก
ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสามารถและความรู้ที่แต่ ละคนจะได้รับ
มีการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือไม่
โดยประเมินผลงานของสมาชิกแต่ละคน
ซึ่งรวมกันเป็นผลงานของกลุ่มให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งกลุ่มและรายบุคคลให้สมาชิกทุกคนรายงานหรือมีโอกาสแสดงความคิดเห็นโดยทั่วถึง
ตรวจสรุปผลการเรียนเป็นรายบุคคลหลังจบบทเรียน
เพื่อเป็นการประกันว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มรับผิดชอบทุกอย่างร่วมกับกลุ่ม
ทั้งนี้สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องมีความมั่นใจ
และพร้อมที่จะได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล
4.
การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interpersonal and Small Group Skills) หมายถึง
การมีทักษะทางสังคม (Social Skill) เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
คือ มีความเป็นผู้นำ รู้จักตัดสินใจ สามารถสร้างความไว้วางใจ รู้จักติดต่อสื่อสาร
และสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานร่วมกันที่จะช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบความสำเร็จ
5. กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processing) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม
โดยผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด มีความร่วมมือทั้งด้านความคิด
การทำงาน และความ รับผิดชอบร่วมกันจนสามารถบรรลุเป้าหมายได้
การที่จะช่วยให้การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปได้อย่าง
มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายนั้น กลุ่มจะต้องมีหัวหน้าที่ดี สมาชิกดี
และกระบวนการทำงานดี นั่นคือ มีการเข้าใจในเป้าหมายการทำงานร่วมกัน
สยุมพร ศรีมุงคุณ (2554)
ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดของทฤษฏีนี้
คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3–6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน
ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน
ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน
และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม
เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว
อัชรา เอิบสุขสิริ. (2550)
ได้รวบรวมไว้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ Cooperative and
Collaborative Learning หรือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ
เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative
Learning กับCollaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน
Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative Learning กับ
Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงานอัน ได้แก่
Pre – Structure , Task – Structure และ Content
Structure โดยCooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า
มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่มีขอบเขตจำกัด ชัดเจน
และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจนมากกว่า ส่วน Collaborative
Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า
เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย
และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่าCollaborative
Learning Office of Educational Research and Improvement (1992)
ได้ให้ความหมายของ Cooperative Learning ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการสอนที่ประสบผลสำเร็จในทีมขนาดเล็ก
ที่ซึ่งนักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน ใช้ความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อการปรับปรุงความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชา
สมาชิกแต่ละคนในทีมมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่เฉพาะการเรียนรู้แต่ยังรวมถึงการช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในการเรียนรู้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้บังเกิดการบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ด้วย
เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ
3 – 6 คน
ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและ
ร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
นอกจากนั้นแล้วทฤษฎีการเรียนรู้ยังสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้อีกด้วย
คือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐาน
- ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
- กลุ่มความรู้ (Cognitive)
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้
มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน
ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2547).
ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2554). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [Online]
เข้าถึงเมื่อ
วันที่ 22 กรกฎาคม 2561.
อัชรา เอิบสุขสิริ.(ม.ป.ป.).
เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู.กรุงเทพมหานคร.
: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น