045piyaphon : ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ
(Natural
Unfoldment)
ทิศนา แขมมณี (2547
: 47-48) ได้รวบรวมไว้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ รุสโซ (Rousseau)
ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (Pestalozzi)
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1) มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี และการกระทำใดๆ
เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good-active)
2) ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้
มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
3) รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ
เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น
การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4) รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะได้รับการเรียนรู้ไปตามธรรมชาติคือ
การเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน
มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย
5) เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ “คนสัตว์” ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทางของกิเลส “คนสังคม”
มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคมคล้อยตามสังคม และ “คนธรรม”
ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักรับผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
6) เพสตาลอสซี เชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน
จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
7) ฟรอเบลเชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก
อายุ 3-5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
8) ฟรอเบลเชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1) การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่
เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่นๆ
2) การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
3) ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือ
การจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติ และเป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่
3.1) ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
3.2) ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
3.3) ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์การจริง
3.4) ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน
4) การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554)
ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษา
การจัดการศึกษาให้กับเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ และสิ่งที่มีความหมายมากคือ
แนวคิดที่ว่าเด็กที่มีอายุน้อยๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากกิจกรรมการใช้สื่อรูปธรรม
หากแนวคิดนี้ถูกนำไปใช้ในห้องเรียนและแนะนำผู้เรียนมากกว่าเป็นผู้สอน
โดยตรงตามทฤษฎีของเพียเจต์
สยุมพร
ศรีมุงคุณ (2554) ได้กล่าวไว้ว่า
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ
การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ
เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น
การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่
และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ
(Natural
Unfoldment) กล่าวถึงธรรมชาติ คือ ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ
การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การจัดการศึกษาให้กับเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่การเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
ปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ ให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการ
ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2547).
ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554).
การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์สหบัณฑิต :
มหาสารคาม.
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2554).
https://www.gotoknow.org/posts/341272. [Online] เข้าถึง
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561.
บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554) ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษา การจัดการศึกษาให้กับเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ และสิ่งที่มีความหมายมากคือ แนวคิดที่ว่าเด็กที่มีอายุน้อยๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากกิจกรรมการใช้สื่อรูปธรรม หากแนวคิดนี้ถูกนำไปใช้ในห้องเรียนและแนะนำผู้เรียนมากกว่าเป็นผู้สอน โดยตรงตามทฤษฎีของเพียเจต์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น