บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

045piyaphon : ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning) ทิศนา แขมมณี (2547) ได้รวบรวมไว้ว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ                    1. ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่นเพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่องหรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ                    2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น                    3. ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย                          การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่มโดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกันต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพ

045piyaphon : ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ( Constructionism) ทิศนา แขมมณี (2547) ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎี “ Constructionism” เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ( Piaget) เช่นเดียวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ ( Constructionism) ผู้พัฒนาทฤษฏีนี้คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท ( Seymour Papert) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ ( Massachusetts Institute of Technology) เพเพอร์ทได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นมาใช้ในวงการศึกษา           แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ (สำนักงานโครงการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ , 2542: 1-2) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งใดขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียน จะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และ

045piyaphon : ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ( Constructivism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ( Constructivism) ทิศนา แขมมณี (2547) ได้รวบรวมไว้ว่า ก. ทฤษฎีการเรียนรู้ วีก็อทสกี้ ( Vygotsky) เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซียที่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในสมัยเดียวกับเพียเจต์ ( Piaget) ผลงงานของเขาเป็นที่ยอมรับกันในประเทศรัสเซีย และเริ่มเผยแพร่สู่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆ ในยุโรปเมื่อได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1962 ต่อมาในปี ค.ศ. 1986 โคซูลิน ( Kozulin) ได้แปลและปรับปรุงหนังสือของวีก็อทสกี้อีกครั้งหนึ่ง เป็นทำให้มีผู้นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนอย่างแพร่หลาย (สุรางค์ โคว้ตระกูล , 2541: 61) ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์และของวีก็อทสกี้เป็นรากฐานที่สำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ( Constructivism) เพียเจต์อธิบายว่า พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม ( assimilation) และกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา ( accommodation) พัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับและซึมซาบข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้สึกหรือโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม หากไม่สามารถไม่

045piyaphon : ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

ทฤษฎีพหุปัญญา ( Theory of Multiple Intelligences) ทิศนา แขมมณี (2547) ได้รวบรวมไว้ว่า           ก. ทฤษฎีการเรียนรู้ ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ ( Gardner) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ( Harvard University) ในปี ค.ศ. 1983 เขาได้เขียนหนังสือชื่อ “ Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ “เชาวน์ปัญญา” เป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน การ์ดเนอร์ ( Gardner , 1983) ให้นิยามคำว่า “เชาวน์ปัญญา”หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆหรือสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเจาะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้ การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการคือ 1) เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ซึ่งเขาบอกว่า ความจริงอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไ

045piyaphon : ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล ( Information Processing Theory) ทิศนา แขมมณี (2547) ได้กล่าวถึงทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีนี้เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จวบจนปัจจุบัน คลอสเมียร์ ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้คือ         1. การรับข้อมูล ( input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล 2. การเข้ารหัส ( encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ ( software) 3. การส่งข้อมูลออก ( output) โดยผ่านทางอุปกรณ์ กระบวนการประมวลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก ( recognition) และความใส่ใจ ( attention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า ซึ่งจะดำรงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก ในการทำงานที่จำ

045piyaphon : ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย ( Gagne’s eclecticism) ทิศนา   แขมมณี ( 2547 : 72-76) ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย ไว้ดังนี้ กานเย ( Gagne) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยม ( Behavior Cognitivist) เขาอาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมากจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเยได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยมและพุทธินิยมเข้าด้วยกัน หลักการที่สำคัญ ๆ ของกานเย่ สรุปได้ดังนี้ ( Gagne and Briggs, 1974: 121-136)          ก. ทฤษฎีการเรียนรู้ 1) กานเย ( Gagne) ได้จัดประเภทของการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายาก ไว้ 8 ประเภท ดังนี้ 1.1) การเรียนรู้สัญญาณ ( signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นได้ การเรียนรู้แบบนี้เกิดจากการที่คนเรานำเอาลั