บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

045piyaphon : สื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

รูปภาพ
สื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สื่อการสอนคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนามธรรมในการสร้างความเข้าใจระยะเริ่มแรกของการสอนหากใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรมช่วยอธิบายนามธรรมจะง่ายต่อการเรียนรู้สื่อการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญต่อการสร้างประสิทธิภาพในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์อย่างยิ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวไว้ว่า    เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์ได้  ถ้าครูจัดบทเรียนโดยใช้สื่อการสอนคณิตศาสตร์ได้เหมาะกับวัย  ระดับความรู้  และความสามารถของผู้เรียน  หมายความว่าสื่อการสอนคณิตศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  มีประสบการณ์มีความคิดที่เป็นเหตุผล  กิจกรรมการเรียนการสอนที่มีต่อสิ่งของ  รูปภาพ  สิ่งที่แทนสิ่งของที่กล่าวถึงจะช่วยให้ผู้เรียนสัมผัสกับสถานการณ์ต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นกระบวนการความคิดที่เป็นเหตุผล  การพัฒนาปัญญาของเด็ก  มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและภาษาของชุมชนนั้น ๆ   ถ้าผู้เรียนมีประสบการณ์จากของจริง  หรือสิ่งที่ทราบของจริงในเรื่องนั้นบ่อย ๆ ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิชาการหลาย ๆ อย

045piyaphon :การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Student Team Achievement Division (STAD)

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Student Team Achievement Division (STAD) ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) การจัดการเรียนรู้แบบ  STAD  หมายถึง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเป็นการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีชื่อเต็มว่า  Student Teams Achievement Divisions  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มๆ ละ  4-5  คน ซึ่งประกอบด้วย นักเรียนที่เรียนเก่ง  1  คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง  2-3  คน และนักเรียนที่เรียนอ่อน  1  คน ทฤษฎี/แนวคิดของ   Robert E. Slavin การสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค  STAD  เป็นเทคนิคหนึ่งของการสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative learning ) พัฒนาขึ้นโดย   Robert E. Slavin  ผู้อำนวยการศึกษาโครงการระดับประถมศึกษา ศูนย์วิจัยประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนมีปัญหาทางด้านวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยจอห์นฮอฟกินส์ สหรัฐอเมริกา และเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนคณิตศาสตร์   ได้พัฒนาเทคนิคขึ้นเพื่อขจัดปัญหาทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นทักษะการคิด การเรียนที่เป็นระบบ เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการเรียนเป็นกลุ่ม และเป็นวิธีการส

045piyaphon : ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning) ทิศนา แขมมณี (2547) ได้รวบรวมไว้ว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ                    1. ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่นเพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่องหรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ                    2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น                    3. ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย                          การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่มโดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกันต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพ